Blogger จัดทำขึ้นเพื่อบอกต่อความรู้ให้ผู้ที่สนใจในเนื้อหานี้ ไม่มากก็น้องน่ะครับผม เชิญชม หรือให้คำแนะนำมาได้เลยน่ะครับ

WELCOME TO BLOGGER *TOPFY :")

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

งานวิชาการ เรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ทางเดินรถ



การจราจร นับได้ว่าเป็นปัญหาสังคมปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ และนับวันจะทวีความรุนแรงของปัญหาเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยมีสาเหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายหลายประการ กล่าวคือ ความเจริญเติบโตของเมืองหรือชุมชนได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว ประกอบการการวางผังเมืองยังขาดการวางแผนไม่ดีพอ อีกทั้งจำนวนรถได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทางเดินรถมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้น ถนนบางเส้นทางชำรุด บางเส้นทางสร้างไม่ได้มาตรฐาน ป้ายเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟจราจรที่ติดตั้งไว้ตามถนนหนทางต่างๆมีไม่เพียงพอ บางแห่งชำรุด หรือบางแห่งติดตั้งไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งผู้ขับขี่ผู้ใช้รถใช้ทางเดินรถ ละเลยไม่เคารพไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร จึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้ต้องสูญเสียชีวิตร่างกายและทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก


ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ทางเดินรถ
การใช้รถใช้ทางเดินรถให้เกิดความปลอดภัย ผู้ขับขี่ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด อันจะเป็นแนวทางช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร ลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สินลงได้ กล่าวคือ
1. รถที่จะนำมาใช้ในทางเดินรถ
1.1 ต้องนำไปจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปี พร้อมสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถไว้ประจำรถด้วย
1.2 ต้องมีเครื่องยนต์ ส่วนควบ อุปกรณ์ครบถ้วน และใช้การได้ดีต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัย

1.3 ต้องนำรถไปตรวจสภาพเป็นประจำทุกปี

2. การขับรถในทางเดินรถ
2.1 ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ และนำใบอนุญาตขับขี่ติดตัวไปด้วยทุกครั้งในขณะขับรถ
2.2 ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย และไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ
2.3 ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชน หรือโดนคนเดินเท้า ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดของทาง
2.4 ผู้ขับขี่ต้องไม่ถือหรือใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับขี่ เว้นแต่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา
2.5 ต้องไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นในขณะขับขี่ (มีแอลกอฮอร์ในร่างกายเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมาสุรา) 
2.6 ผู้ขับขี่รถยนต์และผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง ขณะขับขี่รถยนต์หรือโดยสาร
2.7 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้โดยสารต้องสวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่หรือโดยสาร
2.8 ต้องขับรถไม่เร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด
-ในเขตเทศบาล เมืองพัทยา กทม. ความเร็วไม่เกิน 80 กม. / ชั่วโมง
-นอกเขตเทศบาล เมืองพัทยา กทม. ความเร็วไม่เกิน 90 กม. / ชั่วโมง
-ทางพิเศษหรือทางด่วน ความเร็วไม่เกิน 120 กม. / ชั่วโมง ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏบนทางนั้น ๆ ด้วย

3. ผู้ขับขี่จะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซง เปลี่ยนช่องเดินรถ ลดความเร็วของรถ จอดรถหรือหยุดรถ ปฏิบัติดังนี้
ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ใช้รถ หรือไฟสัญญาณของรถ ดังนี้
- ลดความเร็ว ยื่นแขนขวาตรงออกไป โบกมือและแขนขึ้นลงหลายครั้ง
- หยุดรถ ยื่นแขนขวาตรงออกไป แขนท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น หรือให้ไฟสัญญาณสีแดงท้ายรถ
- ให้แซงขึ้นหน้า ยื่นแขนขวาตรงออกไป โบกมือไปข้างหน้าหลาย ๆ ครั้งหรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวด้านซ้ายของรถ
- เลี้ยวขวา ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอระดับไหล่ หรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวข้างขวา
- เลี้ยวซ้าย ยื่นแขนขวาและงอมือชูไปทางซ้ายหลาย ๆ ครั้ง หรือไฟสัญญาณยกเลี้ยวข้างซ้าย
4. การขับรถผ่านทางร่วมทางแยก หรือวงเวียน
4.1 ถ้ามีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน
4.2 ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนขับผ่านไปก่อน เว้นแต่ทางเอกตัดผ่านทางโท

5. การขับรถลงจากทางลาดชัน หรือภูเขา ควรปฏิบัติดังนี้
5.1 ห้ามใช้เกียร์ว่าง
5.2 ห้ามเหยียบคลัตช์
6. เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉิน
6.1 ต้องหยุดหรือจอดรถให้ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ห้ามหยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
6.2 ขับรถตามหลังรถฉุกเฉิน ต้องมีระยะทางไม่ต่ำกว่า 50 เมตร
7. การจอดรถ
7.1 ต้องจอดรถให้ขนานหรือชิดกับขอบทางในระยะห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
7.2 การจอดรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถ ผู้ขับขี่ต้องดับเครื่องยนต์ และห้ามล้อรถนั้นไว้
7.3 ข้อห้ามการจอดรถที่สำคัญ อาทิเช่น
- ในระยะ 3 เมตร จากตู้ไปรษณีย์ ทางข้าม ท่อน้ำดับเพลิง
- ในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
- ในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร
- ในระยะ 15 เมตร จากทางรถไฟผ่าน
8. การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า
8.1 การแซงรถต้องแซงทางด้านขวา โดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควร แล้วจึงขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ
8.2 ต้องให้สัญญาณไฟกระพริบข้างขวา เพื่อให้รถคันหลังรู้ว่าจะแซง
8.3 ข้อห้ามการแซงที่สำคัญ อาทิเช่น
- เมื่อรถขึ้นทางชันหรือขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง
- ในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางร่วมทางแยก หรือวงเวียน
- เมื่อมองไม่เห็นทางข้างหน้าในระยะ 60 เมตร
- เมื่อเข้าที่คับขัน หรือเขตปลอดภัย
9. คนเดินเท้า

9.1 คนเดินเท้า หมายถึง คนเดินทาง ผู้ใช้เก้าอี้ล้อสำหรับคนพิการ หรือรถเข็นสำหรับเด็ก
9.2 ห้ามคนเดินเท้าข้ามทางภายในระยะไม่เกิน 100 เมตร นับจากทางข้าม
9.3 การข้ามทางเดินรถในทางร่วมทางแยก ที่มีสัญญาณไฟจราจรควบคุมการใช้ทางต้องปฏิบัติ ดังนี้
- ไฟสัญญาณสีแดง ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถในทางข้าม
- ไฟสัญญาณสีเขียว ห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้านนั้น
- ไฟสัญญาณสีเหลืองอำพัน หรือสีเขียวกระพริบ ให้คนเดินเท้าหยุดรอบนทางเท้าหรือเกาะแบ่งทางเดินรถ หรือในเขตปลอดภัย

10. เมื่อมีอุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้น
10.1 ผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่คนหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องหยุดรถ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร
10.2 ต้องแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที
10.3 ต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ของตน และเลขทะเบียนรถ พร้อมแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที
10.4 ต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของตน และหมายเลขทะเบียนรถแก้ผู้ได้รับความเสียหายด้วย
10.5 หากผู้ขับขี่หลบหนี ไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่หลบหนี จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือได้ตัวผูกระทำผิด



สรุป
จึงได้เสนอบทความทางวิชาการ เรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ทางเดินรถ ซึ่งเป็นแนวทางเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมายจราจรอีกทั้งยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร ปลูกฝังวินัยการจราจร ช่วยลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกาย อันจะเป็นแนวทางให้ผู้ใช้รถใช้ทางเดินรถ เพื่อให้ประชาชนและคนใช้รถใช้ถนน ได้ถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ทางเดินรถ
อ้างอิง
-กองบัญชาการศึกษา, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. คู่มือตำรวจ เล่ม 8.
กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2550.
-ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
-กรมการขนส่งทางบก

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



RFID เทคโนโลยีแห่งอนาคตในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกในระยะที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากการผันผวนของค่าเงินบาท รวมทั้ง ผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันในประเทศที่มีศักยภาพด้านแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศไทย เช่น จีน , อินเดีย และเวียดนาม ดังนั้น ประเด็นเกี่ยวกับการลดต้นทุนด้วยการนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ น่าจะเป็นทางออกของภาคการผลิต โดยเฉพาะในการนำเข้ามาเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า เป็นไปด้วยความคล่องตัว นำไปสู่การลดต้นทุนด้านสินค้า     คงคลัง โดยปัจจัยสำคัญจะต้องนำระบบโลจิสติกส์ที่เป็นกายภาพไปสู่ระบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า e-Logistics มาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง (Warehouse and Inventory Management) โดยเทคโนโลยีที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในระยะนี้ น่าจะได้แก่ การนำระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง, การขนส่งทางไกล รวมไปถึงการกระจายสินค้า เช่น ระบบการกระจายสินค้าในร้านค้าปลีกประเภทเมกะสโตร์ ,ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ เนื่องจาก RFID ซึ่งเป็นนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า การแทรคกิ้ง (Tracking) , การจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับซอฟท์แวร์ก็สามารถเติมเต็มจำนวนของสินค้าที่เรียกว่า e-Fulfillment หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า Lean และระบบการส่งมอบแบบ Kanban ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่มีสินค้าคงคลังต่ำ เห็นได้ว่า นวัตกรรม RFID จะเป็นความจำเป็นของภาคการผลิตและการค้าในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification  เป็นระบบอัจฉริยะ ภายใต้ Nano Technology ที่กำลังจะมีบทบาทเข้ามาแทนที่ระบบบาร์โค้ด โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
โดยระบบใหม่นี้จะใช้ระบบคลื่นของความถี่วิทยุ มาช่วยในการอ่านรหัสและข้อมูลของสินค้าหรือข้อมูลของฉลากได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ในขณะที่สินค้ายังเคลื่อนไหวพร้อมกันได้คราวละหลายชิ้น (Tag) โดย RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ด้วยความเร็วสูง 50 ชิ้นต่อนาที และยังสามารถอ่านค่าของสินค้านั้นได้แม้จะอยู่ในระยะไกล โดยส่วนประกอบใน RFID จะมีส่วนประกอบหลักๆสำคัญ คือ Tag หรือฉลาก ซึ่งจะติดอยู่กับตัวสินค้า โดยฉลากหรือ Tag จะมี Transceiver ซึ่งจะเป็นเครื่องอ่าน (Reader) โดยหน้าที่หลักของเครื่องอ่านจะสามารถเชื่อมต่อด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งมีทั้งการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ในการถอดรหัสสินค้า Decoding โดยระบบ RFID ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาไปมากจนถึงขั้นที่เป็น RFID จะมี Digital Chip ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่มีขีดความสามารถในการเก็บข้อมูล และส่งสัญญาณวิทยุแม้แต่ในที่ปิดทึบ โดยสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบ XML / Internet ก็สามารถที่จะถอดรหัสทางไกลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ปลายทาง ทำให้ผู้รับสินค้าสามารถรู้ล่วงหน้าถึงรายละเอียดของสินค้า , แหล่งที่ผลิต และสินค้ากำลังขนส่งอยู่ตรงส่วนใดของโลก รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ ซึ่งระบบบาร์โค้ดทำไม่ได้ ซึ่งด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นนวัตกรรมในการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งและรับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (Security and Access Control) ในการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ โดยเฉพาะประเทศซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อการร้ายข้ามประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา , สหภาพยุโรป ฯลฯ  ดังนั้น การส่งสินค้าออกด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ในอนาคตอันสั้นๆ นี้ ระบบ RFID จะเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็น Electronic Seal ซึ่งติดอยู่ที่ตู้คอนเทนเนอร์ในการแสดงสถานะ (Status) ซึ่งจะทำให้ผู้รับสินค้าและผู้ส่งสินค้าสามารถใช้ในการติดตาม Tracking การเดินทางของสินค้าในระยะทางไกล เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ 

   ปัจจุบันเทคโนโลยีการระบุตัววัตถุด้วยคลื่นวิทยุ หรือ Radio Frequency Identication (RFID) อยู่ในกระแสความสนใจ และผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาค ธุรกิจและบริการอย่างกว้างขวาง
สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่หน้าที่เป็นนายทะเบียนดูแลการใช้งานเลขหมาย EPC (Electronic Product Code) ซึ่งเป็นมาตฐานการใช้งาน RFID
   ในด้านโลจิสติกส์และซัพพรายเชนในปัจจุบัน  ตลอดจนมุ่งเผยแพร่ความรู้เรื่องเทคโนโลยี RFID ให้กับผู้ที่สนใจต้องการนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้าง

เทคโนโลยี RFID มีส่วนประกอบสำคัญดังนี้
1. Tag ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลของวัตถุที่ต้องการระบุตัว โดยมีส่วนประกอบพื้นฐาน คือ
 - Microchip ทำหน้าที่เก็บข้อมูลวัตถุในรูปสัญญาณดิจิตอล
 - เสาอากาศ (Antenna) ทำหน้าที่เป็นตัวรับและสะท้อนสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุกลับไปยังเครื่องอ่าน พร้อมทั้งข้อมูลของวัตถุภายใน Microchip
2. Reader ทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไปยัง tag และอ่านข้อมูลของวัตถุที่สะท้อนกลับมาพร้อมกับคลื่นวิทยุ
3. การเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล หรือระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อทำการบ่งชี้ข้อมูล ประมวลผล และแสดงข้อมูลตามต้องการ

           
           RFID Handheld Readers                                            RFID Printer
           เครื่องอ่าน บาร์โค้ด RFID                                  เครื่องพิมพ์ บาร์โค้ด RFID





เลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) คืออะไร
เลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Product Code (EPC) เป็นโครงสร้างใหม่ในการกำหนดเลขรหัสให้กับสินค้า เทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้การกำหนดเลขรหัสเพื่อบ่งชี้สินค้าแต่ละหน่วยแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน โดยเลขรหัสอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) จะเป็นข้อมูลที่จำเป็นและบรรจุอยู่ภายในหน่วยความจำของ RFID Tag เพื่อประโยชน์ในการอ่านและบ่งชี้ข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้า เนื่องจาก EPC มีโครงสร้างเลขรหัสที่มีจำนวนตัวเลขมาก จึงสามารถนำไปกำหนดให้กับสินค้า ทุกชิ้นก็จะมีเลขรหัสต่างกัน มำให้สินค้าที่มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุต่างกันมีเลขรหัสต่างกัน ซึ่งประโยชน์ในการบริหารจัดการสินค้านั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



The EPCglobal Network
 คือ ระบบอันมีประสิทธิภาพ ที่ทำให้ Electronic Product Code (EPC) และ Radio Frequency Identification (RFID) นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหัวใจหลัก 3 ประการ
1. ความสามารถที่จะสร้างเลขหมายเฉพาะตัวให้กับสินค้าทุก ๆ ชิ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก
2. ความสามารถในการรับข้อมูลอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น หรือต้องอยู่ในระยะใกล้ ช่วยให้ติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้า ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
เพิ่มความรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายของสินค้าคงคลังและบุคลากร
3. เครือข่ายที่เชื่อมโยงข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้าที่สามาคถรับรู้และมอง เห็นได้อย่างแท้จริงและเป็นมาตฐานเดียวกันทั่วโลก เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและลดปริมาณการขาดสินค้า (Out of Stock)
       นอกจากนี้ RFID ยังสามารถประยุกต์ใช้ในงานที่เกี่ยวกับซัพพลายเชนไม่ว่าจะเป็นระบบการค้าปลีก การค้าส่ง ระบบการผลิต รวมถึง การขับเคลื่อนทางโลจิสติกส์ โดยสินค้าที่ติด RFID Tag เมื่อผ่านสายพานลำเลียงของระบบการผลิตในโรงงานส่งผลให้แต่ละหน่วยงานจะรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร สินค้าอะไร จำนวนเท่าใด จะต้องส่งไปที่ไหน ส่งให้ใคร และเมื่อใด ซึ่งก่อให้เกิดการส่งมอบที่เป็น Just in Time Delivery  ทั้งนี้  RFID ยังสามารถนำไปใช้จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เช่น ลูกค้าในซุปเปอร์     มาร์เก็ต โดยผู้ซื้อสินค้าเพียงหยิบใส่รถเข็นและเดินผ่านเครื่องถอดรหัสก็สามารถที่จะคิดเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยิบสินค้าทีละชิ้นมาผ่านแสงบาร์โค้ด เช่น ห้าง วอล์ล มาร์ทซึ่งเป็นห้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้มีการนำ RFID มาใช้ตั้งแต่ปี 2005 รวมถึงได้นำมาเชื่อมเครือข่ายกับ Suppliers ทั่วโลกเริ่มตั้งแต่เมื่อลูกค้าได้หยิบสินค้าออกจากชั้นวางของ   RFID จะส่งสัญญาณไปยังศูนย์รวมเพื่อประมวลข้อมูลสินค้าคงเหลือกับ Safety Stock หลังจากนั้นก็จะส่งใบสั่งซื้อ Order Online  ไปยังคู่ค้า Supplier เพื่อให้ผลิตและส่งมอบสินค้ามาทดแทน ซึ่งระบบนี้ก็จะเริ่มมีการใช้แพร่หลายในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งของโลก ทั้งนี้  RFID จะส่งเสริมต่อประสิทธิภาพของ VMI หรือ Vendor Managed Inventory คือ การจัดการควบคุมปริมาณการรับสินค้าจากคู่ค้าให้สอดคล้องกับการผลิตและการส่งมอบ ทำให้ช่วยลดต้นทุนและทำให้การส่งมอบเป็นแบบ Real Time โดยระบบนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การสั่งซื้ออัตโนมัติ ทำให้ลดเวลาและภาระในการจัดซื้อหรือ Reorder ในการลดสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นต้นทุนด้านโลจิสติกส์กว่า 33 เปอร์เซ็นต์ โดย RFID ส่งผลให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และกิจการในระบบโซ่อุปทานเกิดเป็นระบบ ที่เรียกว่า อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-supply chain อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี RFID จะมีความจำเป็นต่อการบริหารการจัดการซัพพลายเชนในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยคาดว่าภายในปี 2008 ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี RFID จะมีมูลค่าการใช้งานทั่วโลกประมาณ  124,000  ล้านบาท ทั้งนี้  RFID จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนากระบวนการทางธุรกิจทั้งในด้านการผลิตและการกระจายสินค้า และการจัดการบริหารสินค้าคงคลัง และสร้างเสริมให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า 
      ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงบางตัวอย่างของ RFID ซึ่งจะมีบทบาทต่อการจัดการโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประเด็นสำคัญก็คือ ผู้ประกอบการไทยยังขาดความรู้และความเข้าใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้เพื่อการจัดการภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์  ซึ่งจำเป็นที่องค์กรเอกชนก็ดี รวมถึงภาครัฐโดยกระทรวง ICT จะต้องเข้ามามีบทบาทเป็นแกนนำในการให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงเข้ามาพัฒนาเพื่อให้ระบบ RFID มีราคาต้นทุนที่ถูก โดยต้องยอมรับว่าการพัฒนา RFID ของไทย ยังต้องพัฒนาอีกมาก เรายังขาดผู้รู้ตลอดจนขาดเทคโนโลยีและเงินทุนที่จะมาพัฒนา Chip RFID ราคาถูกให้กับธุรกิจของไทยคงยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อการนำระบบ RFID ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีใหม่แห่งอนาคต ที่จะมาปฏิวัติระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของไทย ถ้าไม่เริ่มวันนี้แล้วจะเริ่มกันวันไหน ....



สรุป
Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนา ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
ที่สำคัญปัจจุบันเทคโนโลยีการระบุตัววัตถุด้วยคลื่นวิทยุ หรือ Radio Frequency Identication (RFID) อยู่ในกระแสความสนใจ และผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาค ธุรกิจและบริการอย่างกว้างขวาง
สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่หน้าที่เป็นนายทะเบียนดูแลการใช้งานเลขหมาย EPC (Electronic Product Code) ซึ่งเป็นมาตฐานการใช้งาน RFID
 ในด้านโลจิสติกส์และซัพพรายเชนในปัจจุบัน  ตลอดจนมุ่งเผยแพร่ความรู้เรื่องเทคโนโลยี RFID ให้กับผู้ที่สนใจต้องการนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้าง
RFID นั้น มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ (เฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว) ยกตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จาก RFID ให้ได้รับทราบกัน  เช่น
- RFID นั้นสามารถที่จะทำให้บัตร ATM ,บัตรเครดิต หรือบัตรต่าง ๆ อีกมากมาย มาอยู่รวมกันในบัตรเดียว ทำให้เราไม่ต้องพกบัตรหลาย ๆ ใบ
- RFID แค่เดินผ่านก็จ่ายเงินได้แล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่าจะจ่ายได้ยังไง คำตอบก็คือ จะมีบริการเติมเงินเข้าสู่ชิป RFID ( ก็เหมือนบัตรเงินสดของ True Money ) เวลาเราซื้ออะไรก็แค่เดินผ่านเครื่องอ่านโค้ดของ RFID มันก็จะไปหักเงินที่เรามีอยู่ไป ไม่ต้องเสียเวลาเข้าคิวจ่ายเงิน
- RFID ในตอนนี้นั้นมีบทบาทแบบลับ ๆ ในประเทศของเรา คือถ้าใครสังเกต จะเห็นว่าพวกร้านค้าชั้นนำ Brand Name ทั้งหลายมีเครื่องอะไรไม่รู้ตั้งอยู่หน้าร้าน เวลาเราซื้อของแต่ดันลืมจ่ายเงิน (เอ๊ะ ยังไง) พอเดินผ่านเจ้าเครื่องนี้มันก็จะร้อง ตุ๊ด ๆ ฟ้องพนักงาน (บางคนอาจจะเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้)
- ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนใช้บริการของรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT ในอนาคตก็คงจะต้องชอบแน่ ๆ เพราะเราสามารถที่จะเดินผ่านเครื่องที่เก็บบัตร (BTS) หรือหยอดเหรียญ (MRT) ได้โดยไม่ต้องเวลาเลยแม้แต่นิดเดียว (หรืออาจจะเอาโทรศัพท์มือถือของเรา ให้เครื่องอ่าน อ่านก็ได้)
ประโยชน์ของระบบ EPC/RFID
1. ความสะดวกรวดเร็วในก่บ่งชี้สินค้า และความสามารถในการอ่านข้อมูลครั้งละมาก ๆ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
2. ระยะทางและรัศมีในการบ่งชี้สินค้าที่ไกลกว่าสแนบาร์โค้ดในแบบเดิม ซึ่งจำกัดระยะระหว่างเครื่องแสกนกับตัวสินค้าไม่เกิน 5-10 ซ.ม.
3. การบันทึกข้อมูล EPC ใน RFID Tag ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบ่งชี้ข้อมูลของสินค้าติดตามสินค้าได้อย่าง รวดเร็ว และสามารถบริหารจัดการ Supply Chain ได้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของเจ้าชิปอัจฉริยะ RFID ประเทศไทยเริ่มนำมาใช้แบบเป็นจริงเป็นจัง โดยเป็นเป็นของค่ายยักษ์ใหญ่ True โดยนำซิมการ์ดมาเชื่องโยงกับบริการ True Money แล้วถ้าใครมี นับว่าเป็นคนนับเทรนด์สุด ๆ