Blogger จัดทำขึ้นเพื่อบอกต่อความรู้ให้ผู้ที่สนใจในเนื้อหานี้ ไม่มากก็น้องน่ะครับผม เชิญชม หรือให้คำแนะนำมาได้เลยน่ะครับ

WELCOME TO BLOGGER *TOPFY :")

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



RFID เทคโนโลยีแห่งอนาคตในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกในระยะที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากการผันผวนของค่าเงินบาท รวมทั้ง ผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันในประเทศที่มีศักยภาพด้านแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศไทย เช่น จีน , อินเดีย และเวียดนาม ดังนั้น ประเด็นเกี่ยวกับการลดต้นทุนด้วยการนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ น่าจะเป็นทางออกของภาคการผลิต โดยเฉพาะในการนำเข้ามาเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า เป็นไปด้วยความคล่องตัว นำไปสู่การลดต้นทุนด้านสินค้า     คงคลัง โดยปัจจัยสำคัญจะต้องนำระบบโลจิสติกส์ที่เป็นกายภาพไปสู่ระบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า e-Logistics มาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง (Warehouse and Inventory Management) โดยเทคโนโลยีที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในระยะนี้ น่าจะได้แก่ การนำระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง, การขนส่งทางไกล รวมไปถึงการกระจายสินค้า เช่น ระบบการกระจายสินค้าในร้านค้าปลีกประเภทเมกะสโตร์ ,ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ เนื่องจาก RFID ซึ่งเป็นนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า การแทรคกิ้ง (Tracking) , การจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับซอฟท์แวร์ก็สามารถเติมเต็มจำนวนของสินค้าที่เรียกว่า e-Fulfillment หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า Lean และระบบการส่งมอบแบบ Kanban ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่มีสินค้าคงคลังต่ำ เห็นได้ว่า นวัตกรรม RFID จะเป็นความจำเป็นของภาคการผลิตและการค้าในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification  เป็นระบบอัจฉริยะ ภายใต้ Nano Technology ที่กำลังจะมีบทบาทเข้ามาแทนที่ระบบบาร์โค้ด โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
โดยระบบใหม่นี้จะใช้ระบบคลื่นของความถี่วิทยุ มาช่วยในการอ่านรหัสและข้อมูลของสินค้าหรือข้อมูลของฉลากได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ในขณะที่สินค้ายังเคลื่อนไหวพร้อมกันได้คราวละหลายชิ้น (Tag) โดย RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ด้วยความเร็วสูง 50 ชิ้นต่อนาที และยังสามารถอ่านค่าของสินค้านั้นได้แม้จะอยู่ในระยะไกล โดยส่วนประกอบใน RFID จะมีส่วนประกอบหลักๆสำคัญ คือ Tag หรือฉลาก ซึ่งจะติดอยู่กับตัวสินค้า โดยฉลากหรือ Tag จะมี Transceiver ซึ่งจะเป็นเครื่องอ่าน (Reader) โดยหน้าที่หลักของเครื่องอ่านจะสามารถเชื่อมต่อด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งมีทั้งการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ในการถอดรหัสสินค้า Decoding โดยระบบ RFID ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาไปมากจนถึงขั้นที่เป็น RFID จะมี Digital Chip ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่มีขีดความสามารถในการเก็บข้อมูล และส่งสัญญาณวิทยุแม้แต่ในที่ปิดทึบ โดยสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบ XML / Internet ก็สามารถที่จะถอดรหัสทางไกลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ปลายทาง ทำให้ผู้รับสินค้าสามารถรู้ล่วงหน้าถึงรายละเอียดของสินค้า , แหล่งที่ผลิต และสินค้ากำลังขนส่งอยู่ตรงส่วนใดของโลก รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ ซึ่งระบบบาร์โค้ดทำไม่ได้ ซึ่งด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นนวัตกรรมในการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งและรับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (Security and Access Control) ในการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ โดยเฉพาะประเทศซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อการร้ายข้ามประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา , สหภาพยุโรป ฯลฯ  ดังนั้น การส่งสินค้าออกด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ในอนาคตอันสั้นๆ นี้ ระบบ RFID จะเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็น Electronic Seal ซึ่งติดอยู่ที่ตู้คอนเทนเนอร์ในการแสดงสถานะ (Status) ซึ่งจะทำให้ผู้รับสินค้าและผู้ส่งสินค้าสามารถใช้ในการติดตาม Tracking การเดินทางของสินค้าในระยะทางไกล เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ 

   ปัจจุบันเทคโนโลยีการระบุตัววัตถุด้วยคลื่นวิทยุ หรือ Radio Frequency Identication (RFID) อยู่ในกระแสความสนใจ และผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาค ธุรกิจและบริการอย่างกว้างขวาง
สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่หน้าที่เป็นนายทะเบียนดูแลการใช้งานเลขหมาย EPC (Electronic Product Code) ซึ่งเป็นมาตฐานการใช้งาน RFID
   ในด้านโลจิสติกส์และซัพพรายเชนในปัจจุบัน  ตลอดจนมุ่งเผยแพร่ความรู้เรื่องเทคโนโลยี RFID ให้กับผู้ที่สนใจต้องการนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้าง

เทคโนโลยี RFID มีส่วนประกอบสำคัญดังนี้
1. Tag ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลของวัตถุที่ต้องการระบุตัว โดยมีส่วนประกอบพื้นฐาน คือ
 - Microchip ทำหน้าที่เก็บข้อมูลวัตถุในรูปสัญญาณดิจิตอล
 - เสาอากาศ (Antenna) ทำหน้าที่เป็นตัวรับและสะท้อนสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุกลับไปยังเครื่องอ่าน พร้อมทั้งข้อมูลของวัตถุภายใน Microchip
2. Reader ทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไปยัง tag และอ่านข้อมูลของวัตถุที่สะท้อนกลับมาพร้อมกับคลื่นวิทยุ
3. การเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล หรือระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อทำการบ่งชี้ข้อมูล ประมวลผล และแสดงข้อมูลตามต้องการ

           
           RFID Handheld Readers                                            RFID Printer
           เครื่องอ่าน บาร์โค้ด RFID                                  เครื่องพิมพ์ บาร์โค้ด RFID





เลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) คืออะไร
เลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Product Code (EPC) เป็นโครงสร้างใหม่ในการกำหนดเลขรหัสให้กับสินค้า เทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้การกำหนดเลขรหัสเพื่อบ่งชี้สินค้าแต่ละหน่วยแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน โดยเลขรหัสอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) จะเป็นข้อมูลที่จำเป็นและบรรจุอยู่ภายในหน่วยความจำของ RFID Tag เพื่อประโยชน์ในการอ่านและบ่งชี้ข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้า เนื่องจาก EPC มีโครงสร้างเลขรหัสที่มีจำนวนตัวเลขมาก จึงสามารถนำไปกำหนดให้กับสินค้า ทุกชิ้นก็จะมีเลขรหัสต่างกัน มำให้สินค้าที่มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุต่างกันมีเลขรหัสต่างกัน ซึ่งประโยชน์ในการบริหารจัดการสินค้านั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



The EPCglobal Network
 คือ ระบบอันมีประสิทธิภาพ ที่ทำให้ Electronic Product Code (EPC) และ Radio Frequency Identification (RFID) นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหัวใจหลัก 3 ประการ
1. ความสามารถที่จะสร้างเลขหมายเฉพาะตัวให้กับสินค้าทุก ๆ ชิ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก
2. ความสามารถในการรับข้อมูลอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น หรือต้องอยู่ในระยะใกล้ ช่วยให้ติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้า ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
เพิ่มความรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายของสินค้าคงคลังและบุคลากร
3. เครือข่ายที่เชื่อมโยงข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้าที่สามาคถรับรู้และมอง เห็นได้อย่างแท้จริงและเป็นมาตฐานเดียวกันทั่วโลก เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและลดปริมาณการขาดสินค้า (Out of Stock)
       นอกจากนี้ RFID ยังสามารถประยุกต์ใช้ในงานที่เกี่ยวกับซัพพลายเชนไม่ว่าจะเป็นระบบการค้าปลีก การค้าส่ง ระบบการผลิต รวมถึง การขับเคลื่อนทางโลจิสติกส์ โดยสินค้าที่ติด RFID Tag เมื่อผ่านสายพานลำเลียงของระบบการผลิตในโรงงานส่งผลให้แต่ละหน่วยงานจะรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร สินค้าอะไร จำนวนเท่าใด จะต้องส่งไปที่ไหน ส่งให้ใคร และเมื่อใด ซึ่งก่อให้เกิดการส่งมอบที่เป็น Just in Time Delivery  ทั้งนี้  RFID ยังสามารถนำไปใช้จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เช่น ลูกค้าในซุปเปอร์     มาร์เก็ต โดยผู้ซื้อสินค้าเพียงหยิบใส่รถเข็นและเดินผ่านเครื่องถอดรหัสก็สามารถที่จะคิดเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยิบสินค้าทีละชิ้นมาผ่านแสงบาร์โค้ด เช่น ห้าง วอล์ล มาร์ทซึ่งเป็นห้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้มีการนำ RFID มาใช้ตั้งแต่ปี 2005 รวมถึงได้นำมาเชื่อมเครือข่ายกับ Suppliers ทั่วโลกเริ่มตั้งแต่เมื่อลูกค้าได้หยิบสินค้าออกจากชั้นวางของ   RFID จะส่งสัญญาณไปยังศูนย์รวมเพื่อประมวลข้อมูลสินค้าคงเหลือกับ Safety Stock หลังจากนั้นก็จะส่งใบสั่งซื้อ Order Online  ไปยังคู่ค้า Supplier เพื่อให้ผลิตและส่งมอบสินค้ามาทดแทน ซึ่งระบบนี้ก็จะเริ่มมีการใช้แพร่หลายในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งของโลก ทั้งนี้  RFID จะส่งเสริมต่อประสิทธิภาพของ VMI หรือ Vendor Managed Inventory คือ การจัดการควบคุมปริมาณการรับสินค้าจากคู่ค้าให้สอดคล้องกับการผลิตและการส่งมอบ ทำให้ช่วยลดต้นทุนและทำให้การส่งมอบเป็นแบบ Real Time โดยระบบนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การสั่งซื้ออัตโนมัติ ทำให้ลดเวลาและภาระในการจัดซื้อหรือ Reorder ในการลดสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นต้นทุนด้านโลจิสติกส์กว่า 33 เปอร์เซ็นต์ โดย RFID ส่งผลให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และกิจการในระบบโซ่อุปทานเกิดเป็นระบบ ที่เรียกว่า อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-supply chain อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี RFID จะมีความจำเป็นต่อการบริหารการจัดการซัพพลายเชนในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยคาดว่าภายในปี 2008 ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี RFID จะมีมูลค่าการใช้งานทั่วโลกประมาณ  124,000  ล้านบาท ทั้งนี้  RFID จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนากระบวนการทางธุรกิจทั้งในด้านการผลิตและการกระจายสินค้า และการจัดการบริหารสินค้าคงคลัง และสร้างเสริมให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า 
      ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงบางตัวอย่างของ RFID ซึ่งจะมีบทบาทต่อการจัดการโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประเด็นสำคัญก็คือ ผู้ประกอบการไทยยังขาดความรู้และความเข้าใจในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้เพื่อการจัดการภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์  ซึ่งจำเป็นที่องค์กรเอกชนก็ดี รวมถึงภาครัฐโดยกระทรวง ICT จะต้องเข้ามามีบทบาทเป็นแกนนำในการให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงเข้ามาพัฒนาเพื่อให้ระบบ RFID มีราคาต้นทุนที่ถูก โดยต้องยอมรับว่าการพัฒนา RFID ของไทย ยังต้องพัฒนาอีกมาก เรายังขาดผู้รู้ตลอดจนขาดเทคโนโลยีและเงินทุนที่จะมาพัฒนา Chip RFID ราคาถูกให้กับธุรกิจของไทยคงยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อการนำระบบ RFID ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีใหม่แห่งอนาคต ที่จะมาปฏิวัติระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของไทย ถ้าไม่เริ่มวันนี้แล้วจะเริ่มกันวันไหน ....



สรุป
Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนา ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
ที่สำคัญปัจจุบันเทคโนโลยีการระบุตัววัตถุด้วยคลื่นวิทยุ หรือ Radio Frequency Identication (RFID) อยู่ในกระแสความสนใจ และผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาค ธุรกิจและบริการอย่างกว้างขวาง
สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่หน้าที่เป็นนายทะเบียนดูแลการใช้งานเลขหมาย EPC (Electronic Product Code) ซึ่งเป็นมาตฐานการใช้งาน RFID
 ในด้านโลจิสติกส์และซัพพรายเชนในปัจจุบัน  ตลอดจนมุ่งเผยแพร่ความรู้เรื่องเทคโนโลยี RFID ให้กับผู้ที่สนใจต้องการนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้าง
RFID นั้น มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ (เฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว) ยกตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จาก RFID ให้ได้รับทราบกัน  เช่น
- RFID นั้นสามารถที่จะทำให้บัตร ATM ,บัตรเครดิต หรือบัตรต่าง ๆ อีกมากมาย มาอยู่รวมกันในบัตรเดียว ทำให้เราไม่ต้องพกบัตรหลาย ๆ ใบ
- RFID แค่เดินผ่านก็จ่ายเงินได้แล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่าจะจ่ายได้ยังไง คำตอบก็คือ จะมีบริการเติมเงินเข้าสู่ชิป RFID ( ก็เหมือนบัตรเงินสดของ True Money ) เวลาเราซื้ออะไรก็แค่เดินผ่านเครื่องอ่านโค้ดของ RFID มันก็จะไปหักเงินที่เรามีอยู่ไป ไม่ต้องเสียเวลาเข้าคิวจ่ายเงิน
- RFID ในตอนนี้นั้นมีบทบาทแบบลับ ๆ ในประเทศของเรา คือถ้าใครสังเกต จะเห็นว่าพวกร้านค้าชั้นนำ Brand Name ทั้งหลายมีเครื่องอะไรไม่รู้ตั้งอยู่หน้าร้าน เวลาเราซื้อของแต่ดันลืมจ่ายเงิน (เอ๊ะ ยังไง) พอเดินผ่านเจ้าเครื่องนี้มันก็จะร้อง ตุ๊ด ๆ ฟ้องพนักงาน (บางคนอาจจะเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้)
- ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนใช้บริการของรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT ในอนาคตก็คงจะต้องชอบแน่ ๆ เพราะเราสามารถที่จะเดินผ่านเครื่องที่เก็บบัตร (BTS) หรือหยอดเหรียญ (MRT) ได้โดยไม่ต้องเวลาเลยแม้แต่นิดเดียว (หรืออาจจะเอาโทรศัพท์มือถือของเรา ให้เครื่องอ่าน อ่านก็ได้)
ประโยชน์ของระบบ EPC/RFID
1. ความสะดวกรวดเร็วในก่บ่งชี้สินค้า และความสามารถในการอ่านข้อมูลครั้งละมาก ๆ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
2. ระยะทางและรัศมีในการบ่งชี้สินค้าที่ไกลกว่าสแนบาร์โค้ดในแบบเดิม ซึ่งจำกัดระยะระหว่างเครื่องแสกนกับตัวสินค้าไม่เกิน 5-10 ซ.ม.
3. การบันทึกข้อมูล EPC ใน RFID Tag ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบ่งชี้ข้อมูลของสินค้าติดตามสินค้าได้อย่าง รวดเร็ว และสามารถบริหารจัดการ Supply Chain ได้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของเจ้าชิปอัจฉริยะ RFID ประเทศไทยเริ่มนำมาใช้แบบเป็นจริงเป็นจัง โดยเป็นเป็นของค่ายยักษ์ใหญ่ True โดยนำซิมการ์ดมาเชื่องโยงกับบริการ True Money แล้วถ้าใครมี นับว่าเป็นคนนับเทรนด์สุด ๆ
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น